เลือกวัสดุปูพื้นบ้าน ให้เหมากับห้องต่างๆ ในบ้านของเรากัน

วัสดุในการปูพื้นบ้านเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างนึงในการสร้างบ้านหรือรีโนเวทบ้านใหม่ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามแล้ว ยังต้องรองรับการเดินสัญจรไปมาอยู่เป็นประจำ จึงควรเลือกให้แข็งแรงทนทาน ใครที่คิดอยู่ว่าจะเลือกพื้นบ้านแบบไหนดี วันนี้ทางมีตัวเลือกวัสดุปูพื้นมาเป็นตัวอย่างให้เลือกพิจารณากัน แบบไหนจะเหมาะกับห้องต่างไหน ไปดูกัน
พื้นไม้ลามิเนต
พื้นไม้ลามิเนต (Laminate Flooring) คือ วัสดุปูพื้นที่มีลักษณะลวดลายเหมือนไม้จริง และยังผลิตจากผงไม้และเศษไม้เนื้อแข็ง โดยนำมาผสมกับสารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และนำมาบีบอัดกันเป็นแผ่น โดยแผ่นพื้นมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย และติดตั้งได้รวดเร็วด้วยระบบ Click Lock ใครที่ชอบลวดลายไม้และกำลังหาวัสดุปูพื้นบ้านแบบไหนดี พื้นไม้ลามิเนตถือว่าตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นของพื้นไม้ลามิเนต
- ลวดลายไม้สวยงามใกล้เคียงกับพื้นไม้จริง สีสันสวยงาม ไม่ซีดจางง่าย
- ราคาถูกกว่าไม้จริง มีให้เลือกหลายเกรด ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ต้องการ
- ทนทานต่อการขีดข่วน ทนความร้อนจากแสงแดดได้ดี
- ดูแลรักษาง่าย โดยเช็ดทำความสะอาดได้ตามปกติ
ข้อจำกัดของพื้นไม้ลามิเนต
- พื้นไม้ลามิเนต ไม่ทนทานต่อความชื้นมากนัก จึงควรติดตั้งให้ห่างจากห้องน้ำ หรือหน้าต่างที่มีความชื้นเข้าถึงได้ง่าย
- ลวดลายไม้ซ้ำกัน ควรจัดแพทเทิร์นก่อนการติดตั้งให้ดี
กระเบื้องยาง SPC
กระเบื้องยาง SPC (Stone Plastic Composite) คือ วัสดุปูพื้นที่ผลิตจาก PVC ผสมกับแคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และประกอบกันเป็นแผ่น มีความหนาประมาณ 4-8 มม. โดยมีลวดลายให้เลือกหลายแบบ แต่ลายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลย คือ ลายไม้ธรรมชาติหลายชนิด เช่น ไม้โอ๊ค ไม้สัก แต่เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของไม้จริง จึงทนปลวก ทนความชื้น ถือเป็นทางเลือกของคนที่กำลังมองหาว่าวัสดุปูพื้นบ้านแบบไหนดีควรเลือกใช้
จุดเด่นของกระเบื้องยาง SPC
- ทนปลวกทนความชื้น เพราะไม่มีส่วนผสมของไม้จริง จึงติดตั้งได้แทบทุกห้อง เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว
- ทนต่อความร้อน และมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ปลอดภัยต่อการใช้งานในห้องครัว
- ติดตั้งง่ายด้วยระบบ Click Lock โดยไม่ต้องทากาว เพียงปูบนพื้นที่เรียบเสมอกัน หลังติดตั้งเสร็จก็ใช้งานได้ทันที
- พื้นผิวเหมือนไม้ธรรมชาติ ไม่ลื่น สบายเท้า
- ทำความสะอาดง่าย เพียงใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป เช็ดถูได้ตามปกติ
ข้อจำกัดของกระเบื้องยาง SPC
- ควรระมัดระวังของหนักกระแทกพื้น เพราะอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้
- ต้องติดตั้งบนพื้นเรียบเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะทำให้พื้นยวบไม่เรียบเสมอกันได้
พื้นไม้จริง
ใครที่มีงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกปูพื้นบ้านแบบไหนดี พื้นไม้จริงถือเป็นตัวเลือกที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่นในบ้านได้เป็นอย่างดี โดยพื้นไม้จริงส่วนมากมักผลิตจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้โอ๊ค ไม้เมเปิ้ล ซึ่งการปูพื้นด้วยไม้จริงนั้น ช่วยเพิ่มบรรยากาศอันอบอุ่น พร้อมด้วยลายไม้จากธรรมชาติที่ไม่ซ้ำใคร ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นของพื้นไม้จริง
- แข็งแรง ทนทาน ขัดทำสีให้เหมือนใหม่ได้อยู่เสมอ
- ลวดลายมีเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร เพราะเป็นลวดลายที่ได้จากธรรมชาติ
- พื้นผิวจากเนื้อไม้แท้ เย็นสบายเท้า
- เพิ่มความหรูหราให้กับบ้าน ตกแต่งในบ้านได้ทุกสไตล์
ข้อจำกัดของพื้นไม้จริง
- ไม่ทนต่อความชื้น อาจทำให้พื้นไม้บวม โก่งตัว ไม่ทนต่อความร้อน และยังลามไฟง่าย
- ราคาสูงและยังเสี่ยงต่อปัญหาปลวก และแมลงชนิดอื่น ๆ
พื้นไม้พลาสติกคอมโพสิต
พื้นไม้พลาสติกคอมโพสิตพื้นไม้พลาสติกคอมโพสิต (Wood Plastic Composite) หรือพื้นไม้ WPC เป็นประเภทพื้นที่เหมาะกับผู้ที่กำลังมองหาพื้นภายนอกว่าเลือกพื้นบ้านแบบไหนดี เป็นการนำเม็ดพลาสติกมาผสมกับไม้ และขึ้นรูปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น อัดขึ้น ฉีดขึ้นรูป หรือใช้เครื่องกดความร้อนขึ้นรูป ซึ่งแผ่นพื้นที่ได้นั้นจะมีลักษณะเหมือนกับแผ่นไม้ แต่ทนทานต่อความชื้น เหมาะสำหรับปูพื้นภายนอก หรือพื้นสวนได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นของพื้นไม้พลาสติกคอมโพสิต
- แข็งแรง ทนทาน ปลอดภัยจากปัญหาปลวกและแมลงอื่น ๆ
- ติดตั้งง่าย มีสีในตัว ไม่จำเป็นต้องทาสีที่หน้างาน
- เมื่อรื้อออกแล้ว นำไปรีไซเคิลได้ 100%
- ทนต่อความร้อน ไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟอีกด้วย
ข้อจำกัดของพื้นไม้พลาสติกคอมโพสิต
- ลวดลายและสัมผัสไม่เหมือนกับไม้จริง
- หาซื้อยากกว่าพื้นประเภทอื่น ๆ
พื้นหินธรรมชาติ
ใครที่มีงบประมาณไม่จำกัด อยากเสริมความหรูหราให้บ้าน แล้วยังไม่รู้ว่าจะปูพื้นบ้านแบบไหนดี พื้นหินธรรมชาติถือว่าตอบโจทย์ข้อดีได้ดีมากเลยทีเดียว เพราะพื้นหินธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นหินอ่อนหรือหินแกรนิต ต่างก็มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ช่วยเพิ่มบรรยากาศอันหรูหราให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี บ่งบอกตัวตนและรสนิยมของเจ้าของบ้านให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถปรับใช้กับการแต่งบ้านได้หลายสไตล์
จุดเด่นของพื้นหินธรรมชาติ
- แข็งแรงทนทาน ทนต่อการขีดข่วนได้ดี และมีอายุการใช้งานยาวนาน
- ช่วยเสริมความหรูหราในการตกแต่งบ้าน มีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น
- ลวดลายหินสวยงาม หากเป็นหินอ่อนก็มีสีสันให้เลือกหลากหลาย
- ช่วยให้เพิ่มความเย็นในบ้านให้มากยิ่งขึ้น
ข้อจำกัดของพื้นหินธรรมชาติ
- ราคาสูงกว่าพื้นประเภทอื่น ๆ เป็นอย่างมาก เพราะเป็นวัสดุที่หาได้ยากกว่าในอดีต
- ไม่ทนความชื้น มีโอกาสเปลี่ยนสี เกิดรอยด่างได้
พื้นพรม
ไอเดียสุดท้ายสำหรับผู้ที่กำลังหาว่าปูพื้นบ้านแบบไหนดี เป็นวัสดุที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่นภายในบ้านได้อย่างพื้นพรม โดยพื้นพรมเป็นพื้นบ้านที่เลือกใช้ได้ทั้งปูพื้นทั้งห้อง หรือปูบางพื้นที่เพื่อตกแต่ง มีให้เลือกหลายชนิด เช่น พรมขนสัตว์ พรมเส้นใยธรรมชาติ พรมไนลอน พรมโพลีเอสเตอร์ และอีกมากมายหลายชนิด ให้เลือกใช้ตามการตกแต่งที่ต้องการ
จุดเด่นของพื้นพรม
- ช่วยดูดซับเสียง โดยเฉพาะเสียงฝีเท้า เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการสมาธิ เช่น ห้องทำงาน ห้องอ่านหนังสือ
- พื้นพรมเป็นวัสดุปูพื้นที่ไม่ลื่น ช่วยลดอุบัติเหตุจากการลื่นหกล้ม
- ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี เพราะไม่มีพื้นผิวมันเงา วางเฟอร์นิเจอร์ได้ตามใจ
- สวยงาม มีให้เลือกหลากหลายตามรูปแบบการตกแต่งห้อง
ข้อจำกัดของพื้นพรม
- กักเก็บฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้
- ทำความสะอาดได้ยาก โดยเฉพาะคราบสกปรกฝังลึก เช่น คราบกาแฟ คราบอาหาร
กระเบื้องเซรามิก
กระเบื้องเซรามิก คือ แผ่นกระเบื้องที่ผลิตจากการนำดินมาผสมกับสารพิเศษประเภทต่าง ๆ แล้วนำไปเผาในความร้อนสูง ทำให้แข็งแรงคงทน โดยผู้ที่กำลังหาว่าจะปูพื้นบ้านแบบไหนดีให้เย็นสบายเท้า กระเบื้องเซรามิกถือว่าตอบโจทย์ได้ดี อีกทั้งยังเหมาะกับการตกแต่งหลายสไตล์ เพราะมีลวดลายให้เลือกหลากหลายเป็นอย่างมาก
จุดเด่นของกระเบื้องเซรามิก
- มีลวดลายให้เลือกหลากหลายแบบ เช่น ลายหินอ่อน หินขัด ลายไม้ สีพื้นทั่วไป หรือลวดลายอื่น ๆ ตามความต้องการ
- หาซื้อง่ายได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป มีราคาให้เลือกหลายเกรดตามความต้องการ
- ทนทาน ทนความร้อน ไม่ลามไฟ และยังทนต่อความชื้น
- ติดตั้งได้ทุกห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว รวมถึงพื้นที่ภายนอกบ้าน
ข้อจำกัดของกระเบื้องเซรามิก
- หากติดตั้งด้วยวิธีที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้พื้นกระเบื้องโก่งตัว หลุดล่อน หรือระเบิดได้
- หากรื้อออกแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เป็นยังไงกันบ้างกับพื้นในรูปแบบวัสดุต่างๆ พร้อมทั้งจุดเด่นและข้อจำกัดของวัสดุนั้นๆ หวังว่าจะแนวทางการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับบ้านและห้องของท่าน